![]() สำหรับปัจจุบัน smat home ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย มีคำนิยามที่กว้างขวาง และแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ความมีเสน่ห์ของมันคือ ความยืดหยุ่น และความเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล มันช่วยแบ่งเบาภาระ อำนวยความสะดวกของคนในบ้าน แต่ความน่าเชื่อถือ (สามารถทำงานได้ตามเงื่อนไข) และมีเสถียรภาพก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน และทีนี้มีคำถามมากมาย ที่เกิดขึ้นสำหรับใครหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้น อยากทำให้บ้านของตัวเองเป็น smart home ควรเริ่มต้นจากอะไร และสิ่งไหนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ???? สำหรับตัวผมเองที่เพิ่งเริ่มทำการศึกษา smart home ได้ประมาณ 1 เดือนกว่า ผมได้รวบรวมสิ่งที่ผมได้ศึกษามาให้ทุกๆท่านได้ฟัง สำหรับผมคิดว่าพฤติกรรมของคนในบ้านเป็นตัวกำหนดอะไรหลายๆอย่าง และเป็นสิ่งที่ทำให้ smart home ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันออกไป ผมจะให้น้ำหนักไปที่เรื่องของการศึกษาพฤติกรรมของคนในบ้าน และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก สำหรับพฤติกรรมของคนในบ้านหากยิ่งมีความเป็นรูปแบบ (pattern) ที่ชัดเจน smart home จะยิ่งตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยผมจะจำแนก pattern ออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้ 1. time pattern รูปแบบการทำงานที่ขึ้นเวลา เช่น การเปิดไฟโรงจอดรถทุกวันระหว่าง 18.30-20.00 น. 2. behavior pattern รูปแบบที่ขึ้นกับพฤติกรรมของคนในบ้าน เช่น การเปิดไฟห้องน้ำเมื่อใช้งาน การปิดไฟห้องน้ำเมื่อไม่ใช้งาน 3. combination pattern -> รูปแบบที่ผสมผสานระหว่าง time pattern และ behavior pattern เช่น การเปิดแอร์ทุกวันระหว่างเวลา 20.00-23.00 น. เฉพาะกรณีที่มีคนอยู่ จะเห็นได้ว่าแต่ละบ้านจะมีรูปแบบของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีความตายตัวและจะเป็นสิ่งที่กำหนดการออกแบบระบบ การเลือกอุปกรณ์ต่อๆไป ผมจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมของคนในบ้านเป็นอันดับแรก ในลำดับที่สอง เป็นการออกแบบระบบ smart home ให้สามารถ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนนี้จะเป็นการนำข้อมูลการศึกษาพฤติกรรมของคนในบ้านมาวิเคราะห์ เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ระบบ smart home สามารถทำงานแทนคนในบ้านได้ สำหรับผู้เริ่มศึกษาผมขอแนะนำให้ลองแบ่งออกเป็นระบบย่อยๆ และออกแบบทีละระบบย่อย เช่น ระบบเปิด/ปิดไฟห้องน้ำ ระบบเปิด/ปิดไฟทางเดิน เป็นต้น ออกแบบจนครบทุกระบบย่อย และประมาณการการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ในอนาคต เพื่อกำหนดจำนวนอุปกรณ์ที่จะต้องมี และกำหนดงบประมาณคร่าวๆได้ (และหากผู้ออกแบบมีความเชี่ยวชาญขึ้น สามารถสร้างเงื่อนไขการทำงานระหว่างระบบย่อยได้) ลำดับที่ 3 การศึกษาเรื่องทรัพยากรที่มีความจำเป็นต้องใช้ เช่น ที่บ้านมีระบบ internet/Bluetooth หรือไม่ มีระบบ power supply รองรับหรือไม่ หรือกรณี smart switch มีระบบสาย N หรือไม่ เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยในการเลือกอุปกรณ์ต่อไป (ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมี ได้มีการซื้ออุปกรณ์ที่ไม่รองรับกับทรัพยากรที่มี ทำให้ไม่สาทารถใช้งานได้ สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ) และหากขาดทรัพยากรอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญ อาจจะต้องมีการจัดหาเพื่อให้รองรับกับอุปกรณ์ในอนาคต ลำดับที่ 4 เรื่องของอุปกรณ์ ผมจะให้ความสำคัญน้อยลงมาเนื่องจากปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อที่ได้ผลิตแข่งขันออกมามากมาย ในข้อดี/ข้อเสีย ก็ให้เพื่อนๆลองไปศึกษากันเอาเอง แต่ผมเองมีข้อแนะนำสำหรับการซื้อครั้งแรก ไม่ควรลงทุนซื้อในคราวเดียวกัน ให้ทดลองซื้อทีละระบบย่อยตามที่ได้ออกแบบไว้ (เผื่อมีการผิดพลาดในการศึกษาจะได้ไม่เสียเงินจำนวนมากและสาทารถปรับแก้ไขได้ทัน) และทดลอง imprement ใช้งานจริง โดยกำหนดเงื่อนไขให้ระบบทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้และปรับปรุงแก้ไขจนคิดว่ามีความเสถียรดีแล้ว ก็ค่อยๆซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งมากขึ้น และปรับปรุงต่อๆไป และสำหรับเนื้อหาข้างต้นที่ผมพอจะสรุปได้ ก็นำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางสำหรับหลายๆคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำ smart home หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ by Naipon |
In order to fulfill the basic functions of our service, the user hereby agrees to allow Xiaomi to collect, process and use personal information which shall include but not be limited to written threads, pictures, comments, replies in the Mi Community, and relevant data types listed in Xiaomi's Private Policy. By selecting "Agree", you agree to Xiaomi's Private Policy and Content Policy .
Agree